ชวนหนูๆ ดูแลปู่ย่าตายาย

ช่วยสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว และเป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้พร้อมยื่นมือช่วยเหลือผู้มีภาวะสมองเสื่อมในสังคมต่อไป ความน่ารักของเด็กๆ ยังช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสดชื่นแจ่มใส อารมณ์ดีขึ้น 
การสร้างสังคมเป็นมิตรกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมเริ่มต้นได้ตั้งแต่ในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลผู้ป่วยอยู่ สามารถสอนลูกหลานของเรา ให้เรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีได้จากการเป็นผู้ช่วยตัวเล็ก คอยดูแลคุณตาคุณยาย 
นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว และเป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้พร้อมยื่นมือช่วยเหลือผู้มีภาวะสมองเสื่อมในสังคมต่อไป ความน่ารักของเด็ก ๆ ยังช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสดชื่นแจ่มใส อารมณ์ดีขึ้น 
ศูนย์ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมหลายแห่งในต่างประเทศ จัดให้เด็กเล็ก มีโอกาสเยี่ยมเยียนและทำกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากการใช้เวลาร่วมกับเด็กๆ ช่วยปรับอารมณ์และช่วยเยียวยาจิตใจให้กับผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้
ประเมินอย่างไรว่าลูกช่วยได้ 
1. ผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังรู้เรื่อง ไม่มีพฤติกรรมป่วน โมโหง่าย หรือหวาดระแวง 
2. เด็กโตพอเข้าใจเมื่ออธิบายถึงภาวะสมองเสื่อม และทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้ 
3. ดูลูกว่าเป็นเด็กเรียบร้อย ค่อนข้างสงบ ไม่ใช่เด็กซนอยู่ไม่สุข หรือเอะอะเสียงดัง
เด็กๆ ช่วยได้อย่างไร 
อ่านหนังสือ  หากหลานๆ ช่วยอ่านเรื่องราวที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสนใจจะช่วยกระตุ้นสมองเตือนความจำ หรือผู้ป่วยที่ยังสามารถอ่านหนังสือได้ อ่านนิทานให้หลานฟัง  
ใช้เสียงดนตรี การฟังเพลง ร้องเพลงด้วยกัน หรือเต้นไปตามจังหวะเพลง ช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีความสุขสนุกสนาน อารมณ์ดีมีความสุข 
เล่นเกมด้วยกัน หาเกมง่ายๆ ที่ผู้ป่วยและเด็กชอบ ให้ลูกชวนคุณตาคุณยายเล่น  
ทำงานศิลปะ เลือกงานศิลปะที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเคยชอบทำมาก่อน หรือตามความสนใจในขณะนี้
ชวนดูภาพถ่าย การชวนดูภาพถ่าย ช่วยกระตุ้นความทรงจำ ช่วยให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีเมื่อนึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขและอยากพูดคุยมากขึ้น อารมณ์ดีขึ้น
เป็นผู้ช่วยพ่อแม่ ช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น  ช่วยนำผลไม้ไปให้ ช่วยจัดโต๊ะอาหาร ช่วยห่มผ้า ฯลฯ

ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่
1. ชวนลูกเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของคุณตาคุณยาย
2. อย่าปล่อยให้ลูกดูแลเพียงลำพัง ถึงแม้จะเข้ากับผู้ป่วยได้ดี พ่อแม่ควรดูแลอยู่ใกล้ๆ 
3. ไม่ควรให้ลูกใช้เวลาทั้งหมดกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรให้เด็กได้ใช้เวลาว่างของตัวเอง เรียนหนังสือ หรือเล่นกับเด็กคนอื่น
4. ปฏิบัติต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมด้วยความอ่อนโยน เอาใจใส่ เป็นต้นแบบที่ดีของลูก  
5. ชื่นชมลูกเมื่อช่วยดูแลคุณตาคุณยาย 

มากกว่ารักคือเข้าใจ
การมีผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คน กระทบทุกคนในครอบครัว บางครอบครัวที่ขาดความเข้าใจ ทะเลาะกับผู้ป่วยบ้าง ...
ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด
การดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม ถึงแม้จะดูแลด้วยความรักความเอาใจใส่ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
เยียวยาสมองเสื่อมด้วยหัวใจ
การดูแลพ่อสมองเสื่อมในขณะที่ลูกป่วยด้วยโรคเอสแอลอี ...
EP08 ปรับใจยอมรับ อัลไซเมอร์ ของแม่
คุณแม่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มา 8 ปีแล้ว ...
บ้านที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
บ้านที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุควร… ปลอดภัย ...
หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
อายุ 65 ปี+ เสี่ยงหกล้ม 28-35% อายุ 70 ปี+ เสี่ยงหกล้ม ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.